[Java]การใช้ for-each
นอกเหนือจากการใช้ For loop แบบมี ค่าเริ่ม;เงื่อนไข;เพิ่มค่า ยังมีการวนลูปอีกแบบหนึ่งในภาษา Java คือ for - each loop โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้
for(declaration : expression) {
statement
}
- declaration : เป็นการประกาศตัวแปรทั่วไป เช่น String color
- expression : จะเป็นอาร์เรย์ (array) หรือ Object
- statement : อาจจะเป็น การคำนวน การแสดงค่า(print)
แล้วมันต่างจาก for ธรรมดาอย่างไร ข้อดีของ for-each คือกรณีที่เราต้องการโชว์ข้อมูลใน Array ทั้งหมด for -each จะทำได้ง่ายกว่า อาจจะมองภาพยังไม่ออกลองดูตัวอย่างโค้ดด้านล่าง
/*
* การใช้งาน foreach
* @author http://javaagkasit.blogspot.com/
*/
public class foreach {
public static void main(String [] args){
String [] colors = {"Red","Blue","Pink","Yellow","Orange"};
//for ธรรมดา
for(int i =0 ; i< colors.length ;i++){
System.out.println(colors[i]);
}
//for -each
for(String c : colors){
System.out.println(c);
}
}
}
จากโค้ดด้านบน จะเห็นได้ว่าการใช้ for-each จะทำได้ง่ายและเร็วกว่าการใช้ for ธรรมดา แต่ในทางกลับกันในความสะดวกสะบายของ for - each ยังมีข้อเสียอยู่ ในกรณี ถ้าเราต้องการแสดงเฉพาะตำแหน่งเราต้องการโชว์ เช่น โชว์เฉพาะตำแหน่ง colors[0] จะทำไม่ได้
เนื่้อหาที่เกี่ยวข้อง
- การใช้ for http://javaagkasit.blogspot.com/2012/08/for.html
- การใช้ switch casehttp://javaagkasit.blogspot.com/2012/08/switch-case.html
- การใช้ if else http://javaagkasit.blogspot.com/2012/08/if-else.html
- การใช้ if else if http://javaagkasit.blogspot.com/2012/08/if-else-if.html
Subscribe to:
Post Comments
(
Atom
)
No comments :
Post a Comment